วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การสื่อความหมาย

คำตอบท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
1. Communis แปลว่า การสื่อความหมาย
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากผู้ส่งไปยังผู้รับ
3. Sender Message Channel Receiver
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ของผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี เช่น สระ, วรรณยุกต์
6. Structure หมายถึง โครงสร้าง เช่น ประโยค, รูปทรง
7. Content หมายถึง ข้อมูล เช่น วิธีจัดทำโครงการ
8. Treatment หมายถึง วิธีการจัดเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย
9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด เช่น ดนตรี, ภาพวาด
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน ฝนสาด
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส
14.
ผลย้อนกลับ
นักเรียน
สื่อหรือช่องทาง
เนื้อหา, หลักสูตร
ครูการสื่อความหมายในการเรียนการสอน มีองค์ประกอบ ดังนี้ (Source) (Message) (Channel) (Receiver)- ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอน ครูจึงต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสื่อความหมาย ครูต้องจัดบรรยากาศในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และครูต้องวางแผนจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน- เนื้อหา, หลักสูตร ที่จะถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ควรเหมาะกับเพศและวัยของผู้เรียน เนื้อหาควรสอดคล้องกับวิธีสอน หรือสื่อต่างๆ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ- สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อควรมีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสแต่ละช่องทาง สื่อควรจะ เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี- นักเรียน เป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนจึงควรมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ มีทักษะในการสื่อความหมาย มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา
15. กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ เช่น- ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน- ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน- ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน- ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม- ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก- ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น